Content

Introduction to S-RCM

Tuesday, January 6, 2009 0 comments

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 บริษัทได้นำระบบการวางแผนการดูแลเครื่องจักรแบบ Shell Reliability Centered Maintenance (S-RCM) เข้ามาใช้ โดยมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลักได้แก่ ฝ่ายผลิต(MF), ฝ่ายวิศวกรรม(EN) และ ฝ่ายเทคโนโลยี(TN) ซึ่งเป็นฝ่ายหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตของบริษัท

หลักการดูแลเครื่องจักรนี้เริ่มต้นที่อุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากเครื่องบินไม่สามารถผิดพลาดขณะบินได้ ความผิดพลาดของเครื่องบินส่งผลถึงชีวิตของผู้โดยสาร จึงต้องมีการวางแผนการดูแลและการซ่อมบำรุงให้มีประสิทธิภาพโดยที่มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ซึ่งสมัยก่อนผู้ดูแลมักจะคิดว่าชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องบินต้องถูกเปลี่ยนใหม่ตามกำหนดเวลาเพื่อความมั่นใจในการบิน แต่อัตราการตกของเครื่องบินก็ลดลงได้แค่ระดับหนึ่ง ดังนั้นผู้ดูแลจึงนำมาสาเหตุและอาการการขัดข้องของเครื่องบินวิเคราะห์ จึงพบว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินขัดข้องได้และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลา จึงทำให้มีการตรวจสอบต่างๆเกิดขึ้นมาหลังจากนั้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางการบิน หลังจากนั้นจึงได้มีการวางแผนการดูแลเครื่องบินตามลักษณะของความเสียหายต่างๆให้เหมาะสมกับลักษณะความเสียหายต่างๆ

Reliability Centered Maintenance, RCM ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็อาจจะแปลได้ความว่า การซ่อมบำรุงโดยยึดความเชื่อมั่น(ความไว้วางใจ)เป็นศูนย์กลาง ซึ่งก็อาจจะยิ่งทำให้สับสนกันมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจ พิจารณาจากหลักการทำงานของRCM

หลักการของRCMคือการวางแผนการดูแลรักษาให้เหมาะสมกันลักษณะของความเสียหาย(failure mode)ซึ่งแบ่งหลักๆ 2 แบบได้แก่ ขึ้นอยู่กับเวลาหรือแบบสุ่ม(time-base or random) และสามารถรู้ได้หรือไม่สามารถรู้ได้ (Revealed or Unrevealed) ซึ่งหลักนี้จะทำให้เรารู้ได้ว่าเราควรจะดูแลเครื่องจักรอย่างไร

หลังจากนั้นเราก็จะวางแผนการดูแลให้เหมาะสมกับลักษณะการเกิดความเสียหาย เช่น ซ่อมตามเวลา(Time-base), ซ่อมใหญ่ (Overhaul), ซ่อมตามสภาพ (Condition-base), ทดสอบ (Testing) เป็นต้น และจะต้องกำหนดระยะเวลาในการดูแล เช่นทุกวัน, ทุกเดือน, ทุกปี, หรือทุก 5 ปี ขึ้นอยู่กันโอกาสที่จะเกิดขึ้น

จากนั้นแผนการดูแลจะถูกตรวจสอบให้เหมาะสมกับความเสียหาย ซึ่งเพื่อความสะดวกก็จะนำมูลค่าความเสียหายกับค่าใช้จ่ายในการดูแลมาเปรียบเทียบกัน เช่นความเสียหาย 10,000 บาท หากต้องการไม่ให้เกิดความเสียหายต้องมีค่าใช้จ่ายมูลค่า 1,000 บาท ถ้าเป็นเช่นนี้ก็คุ้มค่าที่จะดูแล แต่ถ้าค่าใช้จ่ายในการดูแลคิดเป็น 20,000 บาทแล้ว การดูแลก็ไม่คุ้มที่จะดูแล อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลใหม่ให้เหมาะสม หรืออาจจะต้องยอมให้ความเสียหายนั้นเกิดขึ้น

และสุดท้ายความแตกต่างของRCM กับ S-RCM ก็คือการที่Shell ได้นำหลักการ RCM มาพัฒนาให้เป็นรูปธรรม ให้เหมาะกับอุตสาหกรรมของShell สามารถใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้น

Read more »

Labels

Followers

Powered by Blogger.
My Ping in TotalPing.com